#Assignment4
เมื่อวันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2553 มีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์อาจารย์วีรวัฒน์ วรายน หรือพี่โก้ อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมศาสตรเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม สถาบันอาศรมศิลป์
สถานที่สัมภาษณ์คือที่สยามพารากอนค่ะ
ประวัติและการทำงาน
พี่วีรวัฒน์ วรายน หรือพี่โก้ จบจากลาดกระบังเมื่อปีพ.ศ.2543 ชื่อคณะ "มดแด๊นซ์" เมื่อจบก็ได้เข้าทำงานอยู่2บริษัท ทำงานฟรีแลนซ์2-3ปี และมาเรียนต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยศิลปากรเมื่อวันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม 2553 มีโอกาสได้ไปสัมภาษณ์อาจารย์วีรวัฒน์ วรายน หรือพี่โก้ อาจารย์ประจำหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสถาปัตยกรรมศาสตรเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม สถาบันอาศรมศิลป์
สถานที่สัมภาษณ์คือที่สยามพารากอนค่ะ
ประวัติและการทำงาน
เคยมาสอนที่ลาดกระบังช่วงหนึ่งแต่ช่วงหลังๆไม่ได้มาที่คณะนานแล้ว
ผลงานในช่วงแรกจะเป็นออกแบบบ้าน ร้านค้าและโรงแรม ต่อมาก็ได้เข้าทำงานที่อาศรมศิลป์จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันงานหลักๆตอนนี้ของพี่โก้คืองานวิจัยของการเคหะ
1.โครงการประกวดบ้านอยู่สบายของฉัน เป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับที่อยู่อาศัยให้กับผู้คนทั่วไปอย่างแพร่หลาย
2.วิจัยเรื่องที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต เกี่ยวกับการเข้าพื้นที่จริงเพื่อทราบความต้องการแท้จริงของชาวบ้านเพื่อการแก้ปัญหาเรื่องผลกระทบ
สร้างที่อยู่อาศัยเชิงนิเวศน์ เพื่อให้ชาวบ้านรับรู้ปัญหาที่แท้จริงและหนทางการแก้ปัญหา
และงานด้านการศึกษา วางหลักสูตรของสถาบันอาศรมศิลป์ โดยพี่โก้ได้เล่าให้ฟังว่า การเรียนการสอนของอาศรมศิลป์จะให้ผู้เรียนเป็นผู้เสาะหาความรู้เองโดยอาจารย์เป็นเพียงผู้ผลักดันให้ผู้เรียนเข้าหาแหล่งความรู้ด้วยตัวเอง เน้นการเรียนบนฐานของการทำงานจริง ซึ่ง3ปีที่ผ่านมาจะสอนโดยแยกเป็นรายวิชามีเลคเชอร์ แต่มีความคิดว่าเวลาทำงานจริงนักศึกษาจะเชื่อมโยงวิธีการทำงานกับความรู้ที่เรียนด้วยกันลำบาก จึงเกิดความคิดออก'นอกกรอบ'ไปให้สุดเลย โดยการสลายรายวิชา และเริ่มปีนี้เป็นปีแรก
ผลงานโครงการบ้านอยู่สบายของฉัน
2.วิจัยเรื่องที่อยู่อาศัยที่ได้รับผลกระทบจากนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุต เกี่ยวกับการเข้าพื้นที่จริงเพื่อทราบความต้องการแท้จริงของชาวบ้านเพื่อการแก้ปัญหาเรื่องผลกระทบ
สร้างที่อยู่อาศัยเชิงนิเวศน์ เพื่อให้ชาวบ้านรับรู้ปัญหาที่แท้จริงและหนทางการแก้ปัญหา
และงานด้านการศึกษา วางหลักสูตรของสถาบันอาศรมศิลป์ โดยพี่โก้ได้เล่าให้ฟังว่า การเรียนการสอนของอาศรมศิลป์จะให้ผู้เรียนเป็นผู้เสาะหาความรู้เองโดยอาจารย์เป็นเพียงผู้ผลักดันให้ผู้เรียนเข้าหาแหล่งความรู้ด้วยตัวเอง เน้นการเรียนบนฐานของการทำงานจริง ซึ่ง3ปีที่ผ่านมาจะสอนโดยแยกเป็นรายวิชามีเลคเชอร์ แต่มีความคิดว่าเวลาทำงานจริงนักศึกษาจะเชื่อมโยงวิธีการทำงานกับความรู้ที่เรียนด้วยกันลำบาก จึงเกิดความคิดออก'นอกกรอบ'ไปให้สุดเลย โดยการสลายรายวิชา และเริ่มปีนี้เป็นปีแรก
ผลงานโครงการบ้านอยู่สบายของฉัน
ประสบการณ์ในการทำงานกับการเรียนต่างกันมากน้อยขนาดไหน?
"มาก ตอนเรียนเวลาออกแบบเราก็จะรู้เรื่องงานระบบน้อยมาก จะไปเน้นเรื่องพยายามสร้างดีไซน์ออกมา แต่พอไปทำงานจริงเรื่องระบบ เรื่องวัสดุ เราต้องไปขวนขวายหาเองเยอะ จะปรับตัวว่าจะไปได้ดีหรือไม่ ก็อยู่หลังเรียนจบแล้วว่าจะพัฒนาตัวเองไปได้แค่ไหน"
อุปสรรคในการทำงานคืออะไร?
"จริงๆแล้วเป็นคนไม่ค่อยมีระบบในการทำงาน ตั้งแต่สมัยเรียนด้วย เรื่องการจัดตารางงาน ตารางเวลา ยิ่งตอนหลังได้มาทำงานฟรีแลนซ์อีก พอไม่เป็นระบบก็ไปกันใหญ่เลย สุดท้ายพอมาทำที่อาศรมศิลป์ก็ค่อยๆปรับตัว พัฒนาเรื่องระบบการเรียน การทำงานร่วมกับคนอื่น กับส่วนอื่นๆของงาน ทำงานโดยการจัดสรรเวลาให้เป็นไปตามกำหนด ก็จะดีมากขึ้น อย่างเช่นพวกเราที่จบไปทำงานออฟฟิศก่อน ก็จะได้ระบบการทำงานที่เป็นระบบอยู่แล้ว แต่ถ้าเกิดอยู่ๆเราเกิดไม่อยากทำงานใต้คนอื่น ไปเริ่มทำงานฟรีแลนซ์เอง มันก็จะเป็นปัญหา"
เรื่องค่าตอบแทนของสถาปนิก โดยเฉพาะสถาปนิกออฟฟิศทั่วไปและสถาปนิกชุมชน
"ประเด็นนี้ก็มีคนพูดเยอะ ที่อาศรมศิลป์ก็มีความพยายามจะปรับเรทเงินเดือนให้มันไม่น่าเกลียด แต่ก็ต้องยอมรับว่า ณ ปัจจุบันเนี่ย งานสถาปนิกชุมชนไม่ใช่งานที่ทำเงินได้ โดยเฉพาะคนที่ใช้งานพวกเราคือคนที่ระดับฐานะค่อนข้างต่ำจนถึงล่าง เพราะฉะนั้น อาชีพนี้ก็ถือว่า ถ้านับผู้ใช้งานอย่างเดียวก็ยังไม่ค่อยแข็งแรงพอ แต่ปัจจุบันงานที่อาศรมศิลป์ก็ไม่ได้ทำบ้านพักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยอย่างเดียว มีการทำงานระดับชุมชนจนถึงระดับเมือง ฉะนั้นคนที่ให้ทุนเราในการศึกษา จะเป็นหน่วยงานที่ถือว่าพอจะสนับสนุนในเรื่องเงินได้
แต่ว่าก็ไม่ได้หมายความว่า คนที่ทำงานสถาปนิกทุกคนจะมีช่องทาง มีโอกาสที่จะได้ทำงานอย่างนี้แต่นี่ก็ยังถือว่าการได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ แต่ทำให้รวยเป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าถามว่าอยู่ได้ไหม.. อยู่อย่างมีความสุขได้"
ข้อคิดในการทำงานในการทำงานคืออะไร?
"ส่วนใหญ่งานที่เข้ามามันไม่มีชิ้นไหนที่ทำลักษณะเหมือนเดิมเลย เหมือนยากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสเกลที่ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ อย่างตอนนี้ที่พี่ทำเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างทางสังคม การเมือง อะไรต่างๆ ถ้าไม่ได้เปิดใจ อยากเรียนรู้ อยากทำเพื่อที่จะเรียนรู้ สนุกไปกับงาน ไม่ปิดกั้นตัวเองกับงานที่ทำ"
ข้อแนะนำอะไรบ้างเกี่ยวกับสถาปนิกรุ่นใหม่ที่จบไปแล้วอยากทำงานด้านนี้
"ต้องรู้สึกว่ามันเป็นงานที่ทำแล้วมีคุณค่า อาชีพที่เราทำไม่ใช่เกิดประโยชน์กับเราฝ่ายเดียว เกิดประโยชน์กับฝ่ายอื่นด้วย คืออย่างสถาปนิกปกติทั่วไปคนที่ได้ประโยชน์จากการทำงานของเราอาจจะมีไม่มาก แต่พอเราไปทำงานที่เป็นเชิงสังคมหรือเชิงชุมชน คนที่ได้ประโยชน์จากตรงนั้นก็จะมีมากขึ้น แล้วก็คนที่ได้ประโยชน์ตรงนั้นถ้าดูดีๆ โอกาสที่เขาจะได้ประโยชน์เขาคือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ความรู้ทางสถาปัตย์ที่เราทำ เราก็ได้มีโอกาสเรียนรู้ชีวิตจริง สิ่งจริง สภาพจริงที่มันเป็น ถือว่ามันเป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถ้าสนุกกับการทำงาน ที่ไม่จำเป็นต้องนั่งโต๊ะ หรือนั่งหน้าคอมอย่างเดียว ก็น่าจะชอบงานลักษณะนี้ ได้เห็นบทบาทใหม่ๆในสังคม ในสิ่งที่ปกติเราไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้มาก่อน ถือว่าเป็นการเรียนรู้ตลอดเวลา"
ฝากถึงรุ่นน้องลาดกระบัง
"จริงๆการเรียนที่ลาดกระบังเราก็เรียนแบบออกไปเห็นโลกภายนอกอยู่แล้วนะ คือถ้าเราอยู่แต่ในโลกของสถาปนิกอย่างเดียวเราไม่ค่อยเห็นอะไรที่มันกว้างไปกว่านี้ ให้ออกไปโลกภายนอกบ้าง ปัจจุบันการทำอะไรสักงานหนึ่งเนี่ย เราไม่เข้าใจในเจ้าของงานไม่ได้ เช่นทำงานให้กับเจ้าของสักคนหนึ่งเราก็ต้องรู้ว่าสิ่งที่เขาเป็น ตัวตนของเขาคืออะไร เปิดเพื่อเรียนรู้คน สิ่งต่างๆที่เราไปเจอ แต่ถ้าหมกมุ่นอยู่กับการดีไซน์ของตัวเอง สิ่งที่เราทำออกมาก็อาจไม่ตอบสนองต่อใครเลยก็ได้ ไม่ตอบสนองต่อเจ้าของงานไม่ตอบสนองต่อพื้นที่ที่มันตั้งอยู่ พยายามสื่อสารกับผู้อื่นตลอดเวลา คืองานของเรามันต้องรับเข้ามา ไม่ใช่ถ่ายออกอย่างเดียว คำนึงถึงทุกอย่างรอบข้างจึงจะเป็นงานที่มีประโยชน์"
หลังจากนั้นก็ได้มีโอกาสพูดคุยกับพี่โก้ต่ออีก ได้รับความรู้จากประสบการณ์ และได้มีโอกาสเปิดโลกกว้างได้เห็นหนึ่งในแนวทางการปฏิบัติวิชาชีพของสถาปนิก ที่ได้ใช้ความรู้สร้างประโยชน์ให้กับคนอีกมากมายในสังคม รู้คุณค่าของความรู้ และใช้ชีวิตอย่างมีความสุขค่ะ ขอบคุณสำหรับความใจดีสละเวลามาให้สัมภาษณ์และข้อคิดสาระดีๆจากพี่โก้มากๆค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น