วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโกธิค (Gothic Revival architecture)

ประวัติความเป็นมา
      สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโกธิค (Gothic Revival architecture)  เป็นสถาปัตยกรรมที่เริ่มราวปี ค.ศ. 1840 ที่อังกฤษ เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19
โดยย้อนกลับไปถึงยุคศิลปะโกธิคเป็นศิลปะที่เกิดในยุโรปช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12-15 มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศส คำว่า"Gothic" เริ่มใช้ครั้งแรกโดยนักวิจารณ์ศิลปะสมัยเรอเนซองส์ตอนปลายของอิตาลี
     ศิลปะแบบโกธิคเป็นผลงานที่สร้างขึ้นโดยกลุ่มคนที่เรียกว่าพวกกอธ แฟรงค์ ลอมบาร์ค สลาฟ และแซกซอน ซึ่งต่างเป็นชนเผ่าป่าเถื่อน ไร้ความเจริญทางศิลปวิทยาการ และยังเป็นชนเผ่าที่ทำลายจักรวรรดิโรมัน ดังนั้นนัยยะ ที่ใช้เรียกว่า "ศิลปะโกธิค" จึงเป็นการเรียกขานที่บ่งบอกไปในทางเย้ยหยัน ดูถูก  เมื่อเปรียบเทียบกับคุณค่าศิลปะแบบกรีก-โรมัน ที่มีกฏเกณท์ชัดเจน ซึ่งในยุคเรอเนซองส์ได้รื้อฟื้นกลับมาปรับใช้ในยุคสมัยของตน จนเรียกชื่อยุคว่าเรอเนซองค์ หรือฟื้นฟูศิลปวิทยาการ หมายถึงย้อนกลับไปรื้อฟื้นศิลปวิทยาการแบบกรีก-โรมันขึ้นมาอีกนั้น จึงยิ่งส่งผลให้มองศิลปกรรมอันเกิดจากฝีมือของผู้ทำลายอาณาจักรโรมันยิ่งดูไร้คุณค่าไร้รสนิยมยิ่งขึ้น
แต่สำหรับชาวยุโรปทั่วไปนอกจากอิตาลี มักจะยอมรับศิลปกรรมโกธิคมากกว่าจะดูแคลน  ศิลปกรรมโกธิคเป็นศิลปะที่มีคุณค่าในตนเองอีกลักษณะรูปแบบหนึ่งของโลก ส่งผลต่อกระแสการหวนกลับไปสู่การชื่นชมและสร้างงานศิลปกรรมโกธิคอีกครั้งในศตวรรษที่ 18 ทั้งในยุโรปและอเมริกา จนกลายเป็นยุคที่เรียกว่า Gothic Revival ซึ่งหมายถึงการกลับมาฟื้นฟูศิลปะแบบโกธิคอีกครั้งหนึ่ง


สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโกธิค เริ่มต้นขึ้นประมาณปลายคริสตศตวรรษที่ 18 และมีอิทธิพลอยู่ประมาณ350ปี ต่อเนื่องมาจากศิลปะโรมาเนสก์ พบในศิลปะศาสนาการสร้างมหาวิหาร (Cathedral) พอถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 19 ศิลปะแบบนี้ก็เผยแพร่ไปยังศิลปะทางโลกที่เรียกกันว่าโกธิคนานาชาติ (International Gothic) ศิลปะโกธิคนิยมกันมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ 20 จึงเริ่มวิวัฒนาการมาเป็น ศิลปะยุคเรอเนสซองซ์ ศิลปะแขนงสำคัญของสมัยโกธิคคือ ประติมากรรม งานกระจกสีจิตรกรรมฝาผนัง การเขียนลวดลายในหนังสือวิจิตร ศิลปะโกธิคเริ่มต้นจากฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่น ๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย
ลักษณะสำคัญของสถาปัตยกรรมมีผนังเปิดกว้าง มีส่วนสูงเด่นเป็นพิเศษและมีแบบที่ออกมาเป็นลายเส้นอันซับซ้อน ทุกส่วนล้วนประกอบเข้าด้วยกันเป็นสัญลักษณ์นิยม ทางศาสนา โครงสร้างหลังคาเป็นโค้งแหลม ลักษณะต่างๆ เหล่านี้จะหาดูได้จากมหาวิหารในฝรั่งเศส, เยอรมนี และ อังกฤษ เช่น มหาวิหารแซงเดอนี(ฝรั่งเศส) มหาวิหารโนยง(ฝรั่งเศส) มหาวิหารลาออง(ฝรั่งเศส) มหาวิหารอาเมียง(ฝรั่งเศส) มหาวิหารกลอสเตอร์(อังกฤษ) และ มหาวิหารเอ็กซีเตอร์(อังกฤษ) เป็นต้น



ลักษณะของสถาปัตยกรรมโกธิ
ในสถาปัตยกรรมโกธิคมีโครงสร้างหลักคือ pointed arch , ribbed vault และ flying buttress 

แสดงการถ่ายน้ำหนักจากribbed vault ลงสู่ flying buttressที่ค้ำยันอยู่ด้านข้าง

 flying buttress
โครงสร้างของโบสถ์โกธิคทั่วไป


ลักษณะหน้าต่างสไตล์โกธิค

การตกแต่งภายในสไตล์โกธิค

ลักษณะการวางผังมักเป็นรูปกางเขน ตรงกลางเป็นnave ขนาบด้วยaisleทั้งสองด้าน มักมีหอคอย หลังคาทรงสูง โปร่ง มีการใช้Archยอดแหลม ประดับประดาตกแต่งอย่างวิจิตรงดงาม  หน้าต่างมีลักษณะยอดปลายแหลมหรือเป็นรูปวงกลม(Rose window) ประดับกระจกสี(stain glass)

สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโกธิคในประเทศอังกฤษ
สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโกธิคได้แพร่หลายไปที่ประเทศอังกฤษเมื่อ Sir Horace Walpole ได้ทำการปรับปรุงบ้านพักอาศัยที่เมืองStrawberry Hillโดยใช้ส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมแบบโกธิค เช่น Arch หน้าต่างและลวดลายประดับประดา  พอถึงคริสตศตวรรษที่ 18 ก็กลายเป็นที่นิยม บ้านเรือนในอังกฤษก็นิยมทำแบบแบบโกธิค โดยลอกเลียนรูปร่างอาคารมาจากโบสถ์และปราสาทเก่าแก่ และยังนิยมไปถึงควีนวิคตอเรีย ก็ทรงชื่นชอบความน่าตื่นตาตื่นใจของสถาปัตยกรรมแบบ Gothic Revival style


Palace of Westminster plan,London


Palace of Westminster ,London


สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโกธิคในประเทศสหรัฐอเมริกา
สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโกธิคมีรากฐานมาตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 18 แต่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอเมริกาในปีค.ศ.1840-1850 ดังจะเห็นได้จากภาพวาดในด้านล่างที่ปรากฏสถาปัตยกรรมฟื้นฟูโกธิคด้านหลังของภาพ
ภาพGrant Wood: American Gothic, 1930 (Art Institute of Chicago). The house still stands,
in Eldon, Iowa.

โดยสถาปนิกอเมริกันชื่อ Andrew Jackson Downing  ได้ทำการเผยแพร่ในหนังสือชื่อ Cottage Residences (1842)และสถาปนิกชื่อ Lewis Allenในหนังสือของเขาชื่อ Rural Architecture


ตัวอย่างผังพื้นจากหนังสือของLewis F. Allen, Rural Architecture, Being a Complete
Description of Farm Houses, Cottages and Outbuildings… (New York: C.M. Saxton, 1852).


สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโกธิคมีความละเอียดลออในการประดับประดาตกแต่งที่ได้แรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมในยุคกลาง เช่น รูปแบบหน้าต่างที่มีการประดับกระจกสี ยอดโค้งแหลมหรือ pointed arches และรูปทรงอาคารที่เปลี่ยนไป


สถาปัตยกรรมฟื้นฟูโกธิคในประเทศไทย
                สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นเมืองหลวงกรุงรัตนโกสินทร์ และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำให้กรุงเทพมหานครเป็นเหมือนกรงศรีอยุธยาแห่งที่สอง กล่าวคือได้มีการสร้างสถาปัตยกรรมที่สำคัญ โดยเลียนแบบอย่างมาจากกรุงศรีอยุธยารวมไปถึงสถาปัตยกรรมประเภท บ้านพักอาศัย เรือนไทยบางเรือนที่ยังคงเหลือจากการทำศึกสงครามกับพม่าก็ถูกถอดจากกรุงศรีอยุธยามาประกอบที่กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครกลายเป็นมหานครศูนย์กลางแห่งหนึ่งที่รวบรวมเอาผู้คนหลายหลายชาติวัฒนธรรมเข้ามารวมอยู่ด้วยกันไม่ว่าจะเป็น แขก (อินเดีย) ฝรั่ง (ชาติตะวันตก) และ จีน ที่มีการซึมซับวัฒนธรรมอื่นมาทีละน้อย หลักฐานในยุคนั้นไม่ปรากฏเท่าไร เนื่องจากผุพังไปตามสภาพกาลเวลา แต่จะเห็นได้จากภาพตามจิตรกรรมฝาผนังของวัดต่างๆ ที่สร้างขึ้นในสมัยนั้น รวมถึงรูปแบบบ้านพักอาศัยซึ่งมีตึกปูนแบบจีนอยู่ค่อนข้างมาก
                ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นยุคทองแห่งศิลปะจีน มีการใช้การก่ออิฐถือปูนและใช้ลวดลายดินเผาเคลือบประดับหน้าบันแทนแบบเดิม สมัยรัชกาลที่ 4 เริ่มมีการติดต่อกับชาติตะวันตกมากขึ้นดังเช่น วัดนิเวศธรรมประวัติ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นศิลปะแบบโกธิค

วัดนิเวศธรรมประวัติ
วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา เป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุต สร้างขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงใช้เป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อเสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเลียนแบบโบสถ์ฝรั่ง เป็นศิลปะแบบโกธิค (Gothic)


พระอุโบสถของวัดนั้นสร้างเลียนแบบโบสถ์ในคริสต์ศาสนา โดยภายในประดิษฐาน "พระพุทธนฤมลธรรโมภาส" เป็นพระประธาน ออกแบบโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ โดยลักษณะที่ผสมผสานศิลปะแบบประเพณีนิยม และศิลปะแบบตะวันตกเข้าด้วยกัน ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายสามัญชน นอกจากนี้ บริเวณฐาน ชุกชีก็มีลักษณะเหมือนที่ตั้งไม้กางเขนแบบโบสถ์ และฝาผนังโบสถ์ด้านหน้าของพระประธานนั้น เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 5 ที่ป
ระดับด้วยกระจกสี











โบสถ์วัดกาลหว่าร์
                
โบสถ์แม่พระลูกประคำ (กาลหว่าร์)กรุงเทพฯ หลังที่ 3(หลังปัจจุบัน) สร้างในปี ค.ศ.1891(พ.ศ. 2434) สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ตั้งซอยวานิช ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ
                ในสมัยก่อนชาวต่างประเทศเดินทางมาไกลบ้านไกลเมือง ไม่มีโบสถ์เพื่อประกอบพิธีทางศาสนา จึงได้มีกลุ่มคริสตศาสนิกชน ซี่งมีชาวโปรตุเกสเป็นส่วนใหญ่ได้รวมตัวกันสร้างโบสถ์หลังแรกขึ้น โบสถ์ปัจจุบันนับเป็นโบสถ์หลังที่สามที่สร้างขึ้นใหม่ในปัจจุบัน โบสถ์ตั้งอยู่บริเวณตลาดน้อย ชุมชนของชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นส่วนใหญ่ ผู้ที่มาโบสถ์จึงเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตซึ่งเป็นชาวตะวันตก และในเวลาต่อมาได้เดินทางกลับบ้านเมืองหรือย้ายถิ่นฐานไปที่อื่นตัวโบสถ์เป็นสถาปัตยกรรมแบบนีโอโกธิค ซึ่งคนทั่วไปเรียกว่า วัดกาลหว่าร์ หรือชื่อทางการว่า วัดแม่พระลูกประคำ ตั้งอยู่บริเวณตลาดน้อยริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งพระนคร ในบริเวณโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยา ย่านชุมชนชาวจีนตลาดน้อย เป็นโบสถ์ศาสนาคริสต์ นิกายคาทอลิก สร้างโดยสัตบุรุษชาวโปรตุเกสที่แยกตัวมาจากชุมชนกุฎีจีน ฝั่งธนบุรี ในภายหลังผู้อุปถัมภ์วัดส่วนใหญ่เป็นชาวจีนเข้ารีตที่อาศัยอยู่ในย่านชุมชนตลาดน้อยชื่อกาลหว่าร์ตั้งตามชื่อภูเขาที่พระเยซูถูกตรึงไม้กางเขน คือ "กาลวารีโอ" รัชกาลที่ 1 พระราชทานที่ดินให้สร้างโบสถ์หลังแรกในปี พ.ศ.2329
โบสถ์ที่เห็นปัจจุบันเป็นหลังที่ 3 สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ.2434 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2441 ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบโกธิก (Gothic) ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ขึ้นชื่อของฝรั่งเศส ลักษณะเด่นคือ ยอดอาคารหรือซุ้มประตูหน้าต่างเป็นรูปโค้งแหลม สูงเพรียวชะลูดพุ่งขึ้นฟ้า ตามช่องหน้าต่างประดับประดาด้วยกระจกสีเป็นเรื่องราวในพระคัมภีร์ ส่วนหน้าทำเป็นยอดแหลมสูง บนยอดประดับไม้กางเขน ให้ความรู้สึกสวยงาม และคริสตศาสนิกชนที่กำลังประกอบพีธีการแสดงออกถึงความเลื่อมใส ศรัทธา ทำให้เรานั้นก็ได้สัมผัสถึงความสงบ



ความเป็นมาของโบสถ์
คริสตังชาวโปรตุเกสที่หลบหนีทหารพม่าที่บุกเข้ามาที่อยุธยา ซึ่งไม่ยอมรับมิสชชันนารีฝรั่งเศส แต่ยอมรับบาทหลวงชาวโปรตุเกส ได้แยกไปอยู่บริเวณที่ว่างเปล่าซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดในปัจจุบัน โดยตั้งชื่อว่าค่ายแม่พระลูกประคำตามชื่อรูปแม่พระที่นำมาจากอยุธยา ในช่วงแรกคริสตังในค่ายนี้ยังไม่มีวัดเป็นของตนเอง อีกทั้งไม่มีบาทหลวงโปรตุเกสมาปกครองดูแล จึงจำเป็นต้องเดินทางไปร่วมพิธีทางศาสนาที่วัดซางตาครู้ส
ต่อมาในปี ค.ศ.1786 พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชทานที่ดินที่พวกเขาอาศัยอยู่ให้สร้างโบสถ์ จึงได้มีการสร้างโบสถ์หลังแรกบนที่ดินนี้ โบสถ์หลังแรกนี้สร้างด้วยไม้ยกพื้นสูงเพื่อหนีน้ำท่วมที่มีประจำบริเวณนี้ชื่อโบสถ์ว่า โบสถ์กาลหว่าร์มาจากชื่อรูปพระตายที่นำมาจากอยุธยา คำว่า กาลหว่าร์ คือสถานที่ที่ได้ทำการตรึงกางเขนพระเยซูเจ้าจึงเรียกชื่อรูปพระตายว่า กาลหว่าร์
คริสตังโปรตุเกสได้ขอให้พระอัครสังฆราชแห่งเมืองกัวมาปกครอง แต่ทางเมืองกัวไม่ยอมส่ง โดยมีเหตุผลว่าพวกเขามีผู้ปกครองอยู่แล้ว คือพระสังฆราชชาวฝรั่งเศส ที่ได้รับการแต่งตั้งจากพระสันตะปาปา ดังนั้น คริสตังโปรตุเกสจึงยอมรับอำนาจการปกครองของมิชชันนารีฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1839 สร้างโบสถ์หลังใหม่ โดยตั้งชื่อว่า วัดแม่พระลูกประคำ แต่ชาวจีนยังคงเรียกว่า วัดกาลหว่าร์ เนื่องจากในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1864 ได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ทำลายบ้านพักบาทหลวง ตัวโบสถ์ไม่เสียหาย แต่หลักฐานทุกอย่างของวัดได้ถูกทำลายไปได้มีการสร้างโบสถ์หลังที่ 3 (หลังปัจจุบัน) ในสมัยพระสังฆราชเวย์โดยเริ่มสร้างปี ค.ศ.1891 สร้างเสร็จมีลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกแบบโกธิค โดยบาทหลวงแดชาลส์ สร้างเสร็จในปี 1897 เสียค่าก่อสร้างไปทั้งสิ้น เจ็ดหมื่นเจ็ดพันบาท ได้ทำการบูรณะทาสีในปี ค.ศ.1957 และได้รับการบูรณะซ่อมแซมปรับปรุงสภาพของตัวโบสถ์และลวดลายประดับต่าง ๆ ในปี ค.ศ.1985 และยังคงมีสภาพตัวอาคารที่สมบูรณ์จนถึงปัจจุบัน

ลักษณะสถาปัตยกรรม



ผังอาคาร
มีลักษณะผังเป็นแบบกางเขนโรมัน (ROMAN CROSS) หรือละติน (LATIN CROSS) ขนาดกว้าง 23.03 เมตร ยาว 50.65 เมตร ลักษณะผังเป็นแบบสมมาตร ตัวอาคารวางตัวยาวตามแนวตะวันออก กับ ตะวันตก โดยหันหน้าโบสถ์ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาทางด้านทิศตะวันตก ภายในผังแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหน้าเป็นโถงทางเข้า (NARTHEX) โดยส่วนบนของโถงทางเข้าเป็นหอระฆัง ส่วนกลางเป็นส่วนของที่ร่วมชุมนุมประกอบพิธีกรรม และส่วนด้านหลังของพระแท่นเป็นส่วนเก็บของศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในพิธีกรรม ที่เรียกว่า ซาคริสเตียน (SACRISTIA) ทั้ง 3 ส่วนรวมอยู่ในโครงสร้างของอาคารเดียวกัน ภายในโบสถ์เป็นโถงโล่งมีเสาลอย 2 คู่ คือ อยู่ในแนวห้องแรกสำหรับรับพื้นบริเวณนักขับชั้นลอย 1 คู่ และบริเวณหน้าพระแท่น 1 คู่

             การเจาะช่องเปิดต่าง ๆ ของอาคาร ผนังด้านทิศตะวันตกซึ่งเป็นด้านหน้าของโบสถ์มีช่องเปิด 3 ช่อง ทางด้านหน้าและด้านข้างทั้ง 2 ข้างอีกด้านละ 1 ช่อง เพื่อเข้าสู่ตัวอาคารบริเวณโถงทางเข้า และจากโถงทางเข้าสู่ภายในโบสถ์ เจาะช่องประตู 3 ช่อง โดยมีช่องกลางเป็นประตูใหญ่ และมีช่องริม ทั้ง 2 ข้างเป็นประตูเล็กข้างละ 1 ประตู ผนังด้านทิศเหนือและทิศใต้มีลักษณะเหมือนกัน คือ เป็นผนังยาวโดยมีแนวเสาเก็จ แบ่งผนังออกเป็น 9 ช่วงเสา (BAY) โดยในช่วงเสา 2 ช่วง เสาแรก ถัดจากโถงทางเข้า ผนังทั้ง 2 ช่วงเสา (BAY) ยื่นเป็นมุขหลายเหลี่ยมออกด้านข้าง ภายในมุขยื่นนี้แบ่งผนังออกเป็น 3 ด้าน ผนังกลางของด้านทั้ง 3 เจาะช่องหน้า 2 ช่องและผนังข้างทั้ง 2 ด้านเจาะช่องหน้าต่างด้านละ 1 ช่อง ช่วงเสาที่ 7 ยื่นเป็นมุข (TRANSEPT) ภายในมุขยื่นผนังด้านข้างเจาะ ช่องหน้าต่างขนาดเล็กข้างละ 1 ช่อง ส่วนผนังกลางเจาะช่องหน้าต่างขนาดเดียวกัน หน้าต่างผนังห้องอื่นทั่วไป ส่วนด้านหลังพระแท่นภายในห้องซาคริสเตียน (SACRISTY) แบ่งออกเป็น 3 ห้อง มีการเจาะช่องประตูทั้งทางด้านทิศเหนือและทิศใต้ ข้างละ 1 ประตูและเจาะช่องหน้าต่างตามแนวผนัง ผนังด้านทิศตะวันออกเจาะช่องหน้าต่าง 3 ช่องจากห้องซาคริสเตียนห้องกลางเจาะช่องสำหรับเดินออกมาหลังแนวตู้ศีลได้
             องค์ประกอบภายในผังของส่วนร่วมชุมนุมประกอบพิธีกรรม แบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนศักดิ์สิทธิ์ (HOLY OF HOLY) ประกอบไปด้วยพระแท่นบูชา ตู้เก็บศีลมหาสนิท ที่อ่านบทอ่าน ที่อ่านพระคัมภีร์ (สำหรับประกอบพิธีภาควจนพิธีกรรม) ที่นั่งประธาน โต๊ะสำหรับเตรียมเครื่องใช้ศักดิ์สิทธิ์ บริเวณมุขยื่น (TRANSEPT) เป็นที่ตั้งแท่นเล็ก (CHAPEL) พื้นที่ส่วนที่สองคือ ส่วนที่ชุมนุมของสัตบุรุษ ประกอบไปด้วย ธรรมาสน์เก่า แนวทางเดินกลาง เก้าอี้นั่งของสัตบุรุษ ที่จุ่มน้ำเสกก่อนเข้าโบสถ์ บริเวณที่ฟังแก้บาป และบันไดเวียนสำหรับขึ้นชั้นลอยสำหรับนักขับ และเป็นทางขึ้นสู่ยอดหอระฆัง ในการแบ่งพื้นที่ใช้การยกระดับของพื้นแสดงขอบเขตโดยพื้นที่เป็นส่วนที่มีความสำคัญกว่าจะมีการยกระดับให้สูงขึ้น

 






รูปแบบอาคาร
               มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก รูปทรงอาคารเป็นแท่งสี่เหลี่ยมมีมุขยื่น 2 ข้าง ข้างละ 2 มุข ด้านสกัดแคบยาวออกไปทางด้านหลัง ด้านหน้า แบ่งเป็น 3 ช่วงด้วยแนวเสาเก็จ ประกอบด้วยประตูโค้งแหลม 3 ประตูส่วนล่าง และหน้าต่างกลมกรุกระจกสี 3 ข้าง เหนือประตูริม เน้นช่วงกลางด้วยหอคอยสูง 4 ชั้น ยอดกรวยแหลมสูง และจั่วซุ้มประตู  ยื่นออกจากระนาบผนังด้านหน้า หน้าจั่วเป็นลายปูนปั้น ยอดจั่วเป็นซุ้มตั้งรูปแม่พระ ส่วนบนช่วงกลางของด้านหน้าเจาะหน้าต่างกลม (ROSE WINDOW) ขนาดใหญ่ หอสูงชั้นที่ 3 มีลักษณะเป็นแท่งสี่เหลี่ยมเจาะหน้าต่างโค้งแหลม 1 คู่ ติดบานเกร็ด ชั้นบนเป็นแท่งแปดเหลี่ยมแต่ละด้านเจาะหน้าต่างโค้งแหลมด้านละ 1 ด้าน ผนังด้านหน้าทุกชิ้นแบ่งด้วยลวดบัว รอบ ๆ ยอดของหอคอยสูงเป็นลูกกรงระเบียงล้อมรอบเหนือแนวเสาเก็จเป็นยอดแหลม (PINNACAL)                 ด้านข้าง แบ่งเป็น 11 ช่วงเสา หน้าต่างช่วงล่างเป็นโค้งแหลม หน้าต่างช่วงบนเป็นหน้าต่างกลม แต่ละช่วงแบ่งเป็น 2 ชั้นด้วยลวดบัว ช่วงเสาที่ 2 และที่ 3 นับจากโถงด้านหน้ายื่นออกเป็นมุข 1 คู่และช่วงเสาที่ 8 ยื่นออกเป็นมุข (TRANSEPT) 1 คู่และที่ปลายสุดของอาคารยื่นออกเป็นมุขหลายเหลี่ยม มุขทั้งหมดสูงชั้นเดียว ผนังของมุข เจาะหน้าต่างโค้งแหลม ขนาดเล็กกว่าหน้าต่างผนังอาคาร ยอดบนของเสาเก็จทุกด้านเป็นยอดแหลม (PINNACAL) ระหว่างยอดแหลมเชื่อมด้วยราวลูกกรงระเบียง ด้านข้างของอาคารจะมีลักษณะเด่นของการเจาะช่อง และการแบ่งผนังด้วยเสาเก็จในทางตั้งและลวดบัวในทางนอน หลังคาตัวอาคารเป็นจั่วขนาดใหญ่ คลุมยาวตลอดตัวอาคาร ส่วนมุขส่วนหน้าและท้ายอาคารมีหลังคาโค้งคลุมเฉพาะ ส่วนมุขช่วงเสาที่ 8 อยู่ระหว่างส่วนศักดิ์สิทธิ์ กับส่วนชุมนุมเป็นหลังคาจั่วเปิดเล็ก ๆ สูงเท่าระดับตัวอาคารหน้าบันเจาะช่องหน้าต่างกลมประดับกระจกสี ขอบของจั่วเป็นลายปูนปั้นคล้ายใบอะแคนทัส ยอดจั่วมีลักษณะเป็นยอดอ่อนของต้นไม้

                 ภายในโบสถ์เป็นโถงโล่งขนาดใหญ่ มีทางเดินกลางเชื่อมจากด้านนอกสู่ด้านใน บริเวณแท่นบูชา มีโค้งแบบประตูชัยโรมันขนาดใหญ่ แบ่งที่ว่างระหว่างส่วนศักดิ์สิทธิ์กับส่วนชุมนุมของสัตบุรุษ ด้านหน้าจากประตูทางเข้า มีเสากลม 2 กลุ่มรับพื้นชั้นลอย ซึ่งอยู่ด้านหน้าทำให้ระนาบของเพดานด้านหน้านี้ต่ำกว่าด้านใน มีลวดลายพื้นที่ปูด้วยกระเบื้องซีเมนต์ลายแบ่งระหว่างทางเดินและบริเวณที่นั่งของสัตบุรุษ พื้นบริเวณส่วนศักดิ์สิทธิ์และปีกมุขเป็นพื้นหินอ่อน ลักษณะผนังภายใน เจาะช่องหน้าต่างเหมือนภายนอก หากแต่เห็นความหนาของผนังอาคารบริเวณที่เชื่อมกับมุข เจาะเป็นช่องโค้งแหลมขนาดใหญ่ตกแต่งด้วยลวดบัว ส่วนล่างของผนังเจาะเป็นช่องโค้งแหลมต่อกันเป็นช่วงๆ ส่วนบนของผนังเจาะช่องระบายอากาศกลมลวดบัวและประดับด้วยลายเถาองุ่นทำสีปิดทองบางส่วนโดยรอบผนังทุกด้าน ผนังบริเวณหัวโบสถ์เป็นผนังโค้ง มีเสากลมปิดทอง 4 ด้าน แบ่งผนังเป็นช่วง ๆ ผนังช่วงกลางเป็นช่องเว้า (NICHE) ขนาดใหญ่ตั้งรูปแม่พระ ส่วนด้านข้างเป็นช่องเว้าขนาดเล็กตั้งรูปนักบุญยาโกเบ และนักบุญเบเนดิกโต ข้างละ 1 องค์ ส่วนล่างของผนังเป็นช่องประตูเปิดเข้า-ออกห้องซาคริสเตียนด้านหลัง ผนังส่วนหน้าชั้นระหว่างบริเวณส่วนศักดิ์สิทธิ์กับส่วนชุมนุม ส่วนบนเจาะช่องเว้า (NICHE) ตั้งรูปนักบุญเยโรมีโนและนักบุญอันนา ส่วนช่วงล่างเป็นช่องทางเดิน แต่เดิมระหว่างส่วนศักดิ์สิทธิ์และส่วนชุมนุมจะมีรั้วเตี้ยกั้นแบ่งไว้เฉพาะ แต่ปัจจุบันได้รื้อออกแล้ว ภายในโบสถ์จะมีส่วนของธรรมาสน์เก่า อยู่บริเวณด้านซ้ายมือค่อนไปทางด้านหน้าลักษณะฝ้าเพดาน มีการตกแต่งเขียนสีเห็นโครงสร้างหลังคาบางส่วนโดยเน้นส่วนโครงสร้างหลังคาด้วยสีน้ำตาลเข้ม


                ฝ้าแบ่งเป็นช่วง ๆ ฝ้าส่วนที่นั่งสัตบุรุษส่วนกลางเป็นลายดวงดาวอยู่ในวงกลมและที่รอบทั้ง 4 ด้านมีรูปสัญลักษณ์เอ็ม 2 ตัวซ้อนกัน หมายถึง แม่พระ ส่วนฝ้าเพดานบริเวณหัวโบสถ์เป็นฝ้าโค้ง เห็นโครงสร้างของหลังคาบางส่วนแบ่งฝ้าเป็นช่วง ๆ โดยแต่ละช่วงเป็นสัญลักษณ์ หมายถึง แม่พระ (ซ้ายไปขวา) ปราสาทดาวิด สำนักพระญานสุขุม ดาวประจำรุ่ง หีบพระบัญญัติ กุหลาบสวรรค์ เคหะทองคำ ภาชนะยอดศรัทธา ปราสาทงา แต่ละชื่อมีความหมายเฉพาะ ลวดลายต่าง ๆ เป็นการเขียนสี และปิดทอง ในแนวฝ้าโดยรอบที่เชื่อมกับผนังเป็นลายซุ้มโค้งแหลมต่อกันเป็นแนวทั้งอาคารภายใน อาคารมีช่องหน้าต่างกระจกสีกว้างและสูงทำให้ภายในมีบรรยากาศที่ค่อนข้างโปร่งและได้ความสว่างจากแสงภายนอก
เทคนิคการก่อสร้าง
               ตัวอาคารผนังก่ออิฐฉาบปูนโครงสร้างอาคารเป็นแบบผนังรับน้ำหนัก (BEARING WALL) โดยมีเสาเก็จ หรือผนังยัน ที่เกิดขึ้นจากการเพิ่มความหนาของผนังช่วงที่ต้องรับโครงสร้างหลังคาทำให้สามารถช่วยรับแรงถีบจากโครงสร้างหลังคาได้ สามารถเจาะช่องหน้าต่างได้กว้าง โครงสร้างหลังคาเป็นโครงสร้างไม้ลักษณะเป็นโครงถัก มีการใช้ลวดสลิงขนาดใหญ่ดึงระหว่างโครงสร้างแทนการใช้ไม้ ส่วนของโครงบริเวณหัวโบสถ์มีลักษณะเป็นโวลท์ครึ่งซีก




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น