วันที่สองของทริป ไปที่วัดไหล่หินหลวง จังหวัดลำปาง เป็นสถาปัตยกรรมแบบล้านนา ไม่มีศาลาการเปรียญ ใช้วัสดุที่กลมกลืนกับของเดิม ใช้รูปแบบท้องถิ่น มีวิหารเล็กๆ มีการประดับประดาโครงสร้าง มีความโปร่ง ประโยชน์ใช้สอยคำนึงถึงสเกล ขนาด เพื่อให้เข้ากับของเดิม
มีลานทรายเป็นfore groundนำเข้าสู่วิหารด้านใน ทรายเป็นตัวรับน้ำทำให้มีความชื้นในดิน ไม่ร้อน บริเวณรอบเป็นต้นไม้ใหญ่ให้ความร่มรื่น
ด้านข้างเป็นโรงธรรม กว้างหกเมตร ยาวสิบห้าเมตร เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลาน และวัตถุโบราณ ของเก่าที่ถอดออกมาจากของเดิม |
วิหารหลวงเป็นลายหน้าบันมีความวิจิตรพิศดารมีการบูรณะเมื่อสมัยรัชกาลที่หก โครงสร้างเป็นแบบดั้งเดิม ด้านทิศใต้เป็นลานทราย มีต้นไม้ใหญ่ในตำนาน
วิหารโถงไม่มีฝ้า เมื่อนั่งอยู่ในนั้นจะมองไปเห็นลานทราย ต้นตาล เห็นช่วงเสาเกิดสเปซ
บริเวณปริมณฑลวิหารหลวงมีทางเข้าสามทาง คือด้านหน้าและด้านข้างทั้งสองข้าง มีการปรับระดับเป็นระยะ ถึงลานล่างมีต้นโพธิ์ มีไม้ค้ำต้นโพธิ์เป็นไม้ง่าม เป็นพิธีความเชื่อของชาวบ้านแสดงถึงการค้ำชูพระพุทธศาสนา
วัดต่อมาคือวัดปงยางคก เป็นวิหารไม้ที่มีการประดับประดาจากด้านบนแล้วลดทอนลงมาเป็ไม่มีการประดับจนเป็นช่องเปิด ให้เราเห็นสเปซที่เชื่อมต่อกับภายนอก แต่มีการก่อกำแพงตรงอาสนะสงฆ์กั้นไว้ มีลานหินโดยรอบ
ที่สุดท้ายของวันนี้ คือบ้านไม้โบราณระหว่างทาง ส่วนมากเป็นไม้ หลังคาจั่ว บ้านเป็นสองชั้นและยกให้ถุนสูง มีการแยกห้องน้ำออกจากตัวบ้าน มักเป็นหมู่อาคารที่เป็นเครือญาติอาศัยอยู่ใกล้ๆกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น